วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การเพาะปลูก

การเพาะปลูก[แก้]

กาแฟมักจะได้รับการขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเมล็ด วิธีดั้งเดิมในการปลูกกาแฟคือการใส่เมล็ดกาแฟจำนวน 20 เมล็ดในแต่ละหลุม เมื่อย่างเข้าฤดูฝน เมล็ดกาแฟครึ่งหนึ่งจะถูกกำจัดตามธรรมชาติ เกษตรกรมักจะปลูกต้นกาแฟร่วมกับพืชผลประเภทอื่น ๆ อย่างเช่น ข้าวโพด ถั่วหรือข้าว ในช่วงปีแรก ๆ ของการเพาะปลูก[22]
แหล่งผลิตกาแฟของโลก
r: แหล่งปลูก Coffea canephora
m: แหล่งปลูก Coffea canephora และ Coffea arabica
a: แหล่งปลูกCoffea arabica
กาแฟสายพันธุ์หลักที่ปลูกกันทั่วโลกมีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ Coffea canephora และ Coffea arabica กาแฟอาราบิกา (ผลผลิตจาก Coffea arabica) ถูกพิจารณาว่าเหมาะแก่การดื่มมากกว่ากาแฟโรบัสตา (ผลผลิตจาก Coffea canephora) เพราะกาแฟโรบัสตามักจะมีรสชาติขมกว่าและมีรสชาติน้อยกว่ากาแฟอาราบิกา ด้วยเหตุผลดังกล่าว กาแฟที่เพาะปลูกกันจำนวนกว่าสามในสี่ของโลกจึงเป็น Coffea arabica[21] อย่างไรก็ตาม Coffea canephora สามารถพิสูจน์ได้ว่าสามารถก่อให้เกิดโรคได้น้อยกว่า Coffea arabica และสามารถปลูกได้ในสภาพแวดล้อมที่ Coffea arabica ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ กาแฟโรบัสตามีปริมาณคาเฟอีนผสมอยู่มากกว่ากาแฟอาราบิกาอยู่ประมาณ 40-50%[25] ดังนั้น ธุรกิจกาแฟจึงมักใช้กาแฟโรบัสตาทดแทนกาแฟอาราบิกาเนื่องจากมีราคาถูกกว่า กาแฟโรบัสตาคุณภาพดีมักจะใช้ผสมในเอสเพรสโซเพื่อให้เกิดฟองและลดค่าวัตถุดิบลง[26] นอกจากกาแฟทั้งสองสายพันธุ์นี้แล้ว ยังมี Coffea liberica และ Coffea esliaca ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพืชท้องถิ่นของประเทศไลบีเรียและทางตอนใต้ของประเทศซูดานตามลำดับ[25]
เมล็ดกาแฟอาราบิกาส่วนใหญ่ปลูกในละตินอเมริกา แอฟริกาตะวันออก อาราเบียหรือเอเชีย ส่วนเมล็ดกาแฟโรบัสตาปลูกในแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกากลาง ไปจนถึง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบางส่วนของประเทศบราซิล[21] เมล็ดกาแฟที่ปลูกในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันส่งผลให้เมล็ดกาแฟของแต่ละท้องถิ่น ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะตัว อย่างเช่น รสชาติ กลิ่น สัมผัสและความเป็นกรด[27] ลักษณะรสชาติของกาแฟนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ปลูกเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์กำเนิดและกระบวนการผลิตด้วย[28] ซึ่งโดยปกติแล้ว ความแตกต่างนี้จะสามารถรับรู้กันในท้องถิ่นเท่านั้น

การนำเสนอ

การนำเสนอ[แก้]

การนำเสนอกาแฟในรูปแบบต่าง ๆ สามารถเป็นส่วนหนึ่งของบริการบ้านกาแฟ ยกตัวอย่างเช่นการวาดลวดลายแฟนซีบนผิวหน้าของลาเต้ถ้วยนี้ เป็นต้น
เมื่อผ่านการต้มแล้ว กาแฟสามารถนำเสนอได้ในหลายรูปแบบ การต้มหยด ซึม หรือกาแฟที่ทำมาจากเครื่องต้มกาแฟสามารถดื่มได้โดยไม่จำเป็นต้องมีสารปรุงแต่งเพิ่มเติม หรืออาจจะใส่น้ำตาล นม ครีมหรือทั้งคู่ และยังสามารถเสิร์ฟในน้ำแข็งได้อีกด้วย
กาแฟประเภทเอสเพรสโซมีวิธีการนำเสนอหลากหลายรูปแบบ ในรูปแบบที่ง่ายที่สุด กาแฟเอสเพรสโซสามารถดื่มได้โดยไม่ต้องอาศัยสิ่งเพิ่มเติม หรือในรูปแบบที่มีการเจือจางด้วยน้ำมากขึ้น เรียกว่า "อเมริกาโน" ซึ่งประกอบด้วยเอสเพรสโซหนึ่งหรือสองช็อตผสมกับน้ำร้อน[62] กาแฟอเมริกาโนควรจะเสิร์ฟพร้อมกับเอสพรสโซช็อตเพื่อรักษาครีมาเอาไว้ กาแฟเอสเพรสโซหลายรูปแบบสามารถใส่นมเพื่อปรุงแต่งได้ เมื่อเพิ่มนมร้อนในกาแฟเอสเพรสโซแล้ว จะเรียกว่า "ลาเต"[63] กาแฟเอสเพรสโซและนมในปริมาณที่เท่า ๆ กัน จะได้ "คาปูชิโน"[62] และยังมีการใช้นมร้อนในการวาดลวดลายบนผิวหน้าของกาแฟ ซึ่งเรียกว่า ศิลปะลาเต
กาแฟจำนวนมากถูกจำหน่ายให้แก่ลูกค้าเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่ไม่มีเวลาที่จะทำกาแฟของตนเอง กาแฟประเภทนี้ ได้แก่ กาแฟสำเร็จรูป ซึ่งถูกทำให้แห้งจนกลายเป็นผงแป้งที่สามารถละลายน้ำได้ หรือการทำให้แห้งจนเป็นเมล็ดขนาดเล็กซึ่งสามารถละลายได้อย่างรวดเร็วในน้ำ[64] กาแฟกระป๋องเป็นอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในชาวเอเชียเป็นเวลาหลายปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ผู้ผลิตได้ใช้เครื่องขายสินค้าอัตโนมัติในการจำหน่ายกาแฟกระป๋องหลายรูปแบบ อย่างเช่น กาแฟต้มหรือกาแฟซึม และมีทั้งกาแฟร้อนและเย็น ร้านสะดวกซื้อและร้านขายของชำในประเทศญี่ปุ่นยังมีการจำหน่ายกาแฟบรรจุขวดหลายรูปแบบ โดยมักจะมีรสหวานอ่อน ๆ และผสมกับนมเล็กน้อย กาแฟบรรจุขวดยังได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกา[65] ในบางครั้ง กาแฟเหลวข้นถูกผลิตออกมาเพื่อให้ทันต่อความต้องการของผู้คนนับพันในเวลาเดียวกัน รสชาติของมันเทียบได้กับกาแฟโรบัสตาชั้นเลว และใช้ต้นทุนการผลิต 10 เซนต์ เครื่องจักรสามารถผลิตกาแฟได้ 500 ถ้วยต่อชั่วโมง หรืออาจมากถึง 1,000 ถ้วยต่อชั่วโมงถ้าใช้น้ำร้อนในการผลิต[66]

กาแฟกับสังคม

กาแฟกับสังคม[แก้]

บ้านกาแฟในปาเลสไตน์ ในปี ค.ศ. 1900
กาแฟนั้นแต่เดิมใช้เพื่อเหตุผลทางด้านจิตวิญญาณ เมื่อ 1,000 ปีที่ผ่านมา พ่อค้าได้นำกาแฟข้ามทะเลแดงมายังดินแดนอาระเบีย (ปัจจุบัน คือ ประเทศเยเมน) ที่ซึ่งนักบวชชาวมุสลิมได้ปลูกไม้พุ่มในสวนของตน ในตอนแรก ชาวอาหรับได้ผลิตไวน์จากเนื้อของเมล็ดกาแฟหมัก เครื่องดื่มดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันว่า qishr (ปัจจุบัน คือ kisher) และเป็นส่วนประกอบของพิธีการทางศาสนาอีกด้วย
หลังจากนั้น กาแฟได้กลายเป็นเครื่องดื่มที่ทำหน้าที่แทนไวน์ในพิธีกรรมทางศาสนา หลังจากที่ได้มีการห้ามดื่มไวน์[67] การดื่มกาแฟถูกห้ามโดยชาวมุสลิมตามฮะรอม ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่ว่าข้อห้ามดังกล่าวได้ถูกล้มล้างในเวลาไม่นาน การนำไปใช้ในพิธีกรรมทางศานาทำให้กาแฟถูกส่งไปยังนครเมกกะ กาแฟถูกกล่าวว่าเป็นต้นเหตุของการประพฤติตนนอกคอก การผลิตและการบริโภคกาแฟถูกปราบปราม ต่อมา กาแฟถูกห้ามอย่างเด็ดขาดในจักรวรรดิออตโตมาน[68] กาแฟซึ่งเป็นเครื่องดื่มของชาวมุสลิม ถูกห้ามในหมู่ชาวเอธิโอเปียซึ่งนับถือคริสต์ศาสนานิกายออร์โธดอกซ์ จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1889 ซึ่งได้เป็นเครื่องดื่มประจำชาติของเอธิโอเปีย ที่ไม่ว่าคนที่นับถือความเชื่อใดก็สามารถดื่มได้ทั้งสิ้น การใช้กาแฟในกิจกรรมก่อการกบฏทางการเมืองทำให้กาแฟถูกห้ามในสหราชอาณาจักร และประเทศอื่น ๆ[69]
ในยุคเดียวกับที่มีการห้ามดื่มกาแฟในจักรวรรดิออตโตมานนั้น การห้ามกาแฟยังสามารถพบเห็นได้ในวิหารคริสต์ศาสนานิกายมอมะนิสม์แห่งพระเยซูคริสต์เจ้า[70] ซึ่งได้กล่าวอ้างว่าการดื่มกาแฟจะส่งผลเสียต่อร่างกายและจิตวิญญาณ[71] ซึ่งแนวคิดดังกล่าวมาจากทฤษฎีทางด้านสุขภาพของชาวคริสต์นิกายมอมะนิสม์ในปี ค.ศ. 1833 โดยผู้ก่อตั้งนิกาย โจเซฟ สมิธ ในพระวจนะที่เรียกว่า ถ้อยคำแห่งปัญญา แต่ถ้อยคำแห่งปัญญานี้ไม่ได้หมายความตามชื่อ แต่ยังรวมไปถึงข้อกำหนดที่ว่า "เครื่องดื่มร้อนไม่ใช่ของสำหรับดื่ม" จึงมีการตีความว่า ห้ามการดื่มกาแฟและชาด้วย[71]
นอกจากนี้ สมาชิกของคริสต์ศาสนาแอดเวนทิสต์วันที่เจ็ดยังได้หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน เนื่องจากคริสตจักรได้สอนให้พวกเขาละเว้นจากการดื่มชาและกาแฟ รวมไปถึงเครื่องดื่มบำรุงกำลังอื่น ๆ การศึกษาวิจัยของนิกายแอดเวนทิสต์ได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่เล็กแต่ว่าส่งผลอย่างมากในทางสถิติระหว่างการดื่มกาแฟกับอัตราการตายจากการเป็นโรคหัวใจ และอีกหลายสาเหตุของการเสียชีวิต[72]

ประวัติ

เหนือประตูของร้านกาแฟแห่งหนึ่งในเมืองไลพ์ซิจมีประติมากรรมรูปชายในชุดพื้นเมืองตุรกีกำลังรับถ้วยกาแฟจากเด็กผู้ชายคนหนึ่ง
เป็นที่เชื่อกันว่าบรรพบุรุษชาวเอธิโอเปียของชาวโอโรโมในปัจจุบัน เป็นคนกลุ่มแรกซึ่งรู้จักผลกระทบกระตุ้นประสาทของเมล็ดจากต้นกาแฟ[3] อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานโดยตรงซึ่งชี้ชัดว่าต้นกาแฟมีการปลูกอยู่ที่ใดในทวีปแอฟริกา หรือผู้ใดในกลุ่มชาวพื้นเมืองซึ่งอาจใช้มันเป็นสารกระตุ้น หรือแม้แต่รู้ถึงผลกระทบนั้น ก่อนหน้าคริสต์ศตวรรษที่ 17[3] เรื่องราวของ คาลดี เด็กเลี้ยงแกะชาวเอธิโอเปียในราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 ผู้ซึ่งค้นพบต้นกาแฟนั้น มิได้ปรากฏชื่อในงานเขียนจนกระทั่งถึง ค.ศ. 1671 หรืออาจเป็นเพียงเรื่องปลอมเท่านั้น[3] จากเอธิโอเปีย สันนิษฐานว่ากาแฟได้แพร่กระจายไปยังเยเมน ที่ซึ่งมีการดื่มและผลิตขึ้นเป็นครั้งแรก จากนั้นได้แพร่ไปยังอียิปต์[12] ในขณะที่ หลักฐานซึ่งเชื่อถือได้สามารถสืบย้อนไปได้ไกลที่สุด ถึงการดื่มกาแฟในวิหารซูฟีในม็อคค่าในเยเมน[3] ที่ซึ่งในอาระเบีย ได้มีการคั่วและชงเมล็ดกาแฟเป็นครั้งแรก อันเป็นวิธีที่คล้ายคลึงกับการเตรียมกาแฟ ภายในคริสต์ศตวรรษที่ 16 กาแฟได้แพร่ขยายไปทั่วถึงตะวันออกกลาง เปอร์เซีย ตุรกี และแอฟริกาเหนือ
ในปี ค.ศ. 1583 เลโอนาร์ด เราวอล์ฟ แพทย์ชาวเยอรมัน ได้บรรยายถึงกาแฟหลังจากท่องเที่ยวในดินแดนตะวันออกใกล้เป็นเวลากว่าสิบปีไว้ว่าดังนี้:
เครื่องดื่มที่มีสีดำเหมือนหมึก ใช้รักษาโรคภัยได้หลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกี่ยวกับท้อง ผู้ดื่มจะดื่มในตอนเช้า มันเป็นการนำน้ำและผลไม้จากไม้พุ่มที่เรียกว่า bunnu
— เลโอนาร์ด เราวอล์ฟ ใน Reise in die Morgenländer[13]
จากโลกมุสลิม กาแฟได้แพร่ขยายไปยังอิตาลี การค้าขายระหว่างเวนิซกับแอฟริกาเหนือ อียิปต์และตะวันออกกลางที่เจริญขึ้น ทำให้อิตาลีได้รับสินค้าใหม่ ๆ เข้ามาเป็นจำนวนมาก ซึ่งรวมไปถึงกาแฟด้วย หลังจากนั้น กาแฟก็ได้แพร่กระจายจากเมืองท่าเวนิซไปทั่วยุโรป กาแฟได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายมากขึ้น หลังจากสมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 8 ลงความเห็นว่ามันเป็นเครื่องดื่มสำหรับคริสเตียน ในปี ค.ศ. 1600 แม้ว่าจะมีการร้องเรียนให้ยกเลิก "เครื่องดื่มมุสลิม" ก็ตาม ร้านกาแฟแห่งแรกในทวีปยุโรปเปิดในอิตาลีในปี ค.ศ. 1645[4] ชาวดัตช์เป็นชนชาติแรกที่นำเข้ากาแฟเป็นจำนวนมาก และฝ่าฝืนข้อห้ามของอาหรับเกี่ยวกับการส่งออกพืชและเมล็ดที่ยังไม่ได้คั่ว เมื่อ Pieter van den Broeck ลักลอบนำเข้ากาแฟจากเอเดนไปยังยุโรปในปี ค.ศ. 1616[14] ในภายหลังชาวดัตช์ยังได้นำไปปลูกในเกาะชวาและซีลอน[15] ซึ่งผลผลิตกาแฟจากเกาะชวาสามารถส่งไปยังเนเธอร์แลนด์ได้ในปี ค.ศ. 1711[16] และด้วยความพยายามของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ทำให้กาแฟได้รับความนิยมในประเทศอังกฤษเช่นเดียวกัน กาแฟเข้าสู่ประเทศฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1657 และเข้าสู่ออสเตรียและโปแลนด์ หลังจากยุทธการเวียนนา เมื่อปี ค.ศ. 1683 ซึ่งทหารสามารถยึดเสบียงของทหารออตโตมานเติร์กที่พ่ายแพ้ในการรบครั้งนั้น[17]
หลังจากนั้น กาแฟได้เข้าสู่ทวีปอเมริกาเหนือในช่วงยุคอาณานิคม แต่ว่าไม่ได้รับความนิยมมากเท่ากับในทวีปยุโรป อย่างไรก็ตาม ในช่วงสงครามปฏิวัติอเมริกัน ปริมาณความต้องการกาแฟได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนพวกพ่อค้ากักตุนสินค้าเอาไว้และปั่นราคาขึ้นอย่างกะทันหัน ซึ่งบางส่วนเป็นผลมาจากการที่พ่อค้าชาวอังกฤษไม่สามารถนำเข้าชาได้มากนัก[18] หลังจากสงครามปี 1812 ในช่วงที่อังกฤษงดการนำเข้าชาเป็นการชั่วคราว ชาวอเมริกันจึงหันมาดื่มกาแฟแทน และมีปริมาณความต้องการสูงมากในช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกัน ไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาของเทคโนโลยีการต้มเหล้าทำให้กาแฟกลายเป็นสินค้ายอดนิยมในสหรัฐอเมริกาจนถึงปัจจุบัน[19] แต่ในอังกฤษ ปริมาณการบริโภคกาแฟกลับลดลง และชาวอังกฤษหันไปบริโภคชาแทนระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 เครื่องดื่มชาเป็นเครื่องดื่มซึ่งเตรียมขึ้นได้ง่ายกว่า และหาซื้อได้ในราคาถูกจากการยึดครองอินเดียและอุตสาหกรรมชาในอินเดียของอังกฤษ[20]

ชีววิทยา

เกี่ยวกับชื่อ

การอ้างอิงคำว่าcoffee ในภาษาอังกฤษ อยู่ในรูปของ chaoua ซึ่งสามารถสืบย้อนไปได้ถึง ค.ศ. 1598 ในภาษาอังกฤษและในภาษายุโรปอื่น ๆ coffee ได้ถูกดัดแปลงมาจากภาษาตุรกีออตโตมัน kahve ผ่านทางภาษาอิตาลี caffè ในขณะเดียวกัน คำดังกล่าวในภาษาตุรกีออตโตมันถูกยืมมาจาก เกาะหฺวะหฺ ในภาษาอาหรับ (อาหรับقهوة‎; qahwah) ผู้เขียนพจนานุกรมชาวอาหรับ ยืนยันว่า เดิม เกาะหฺวะหฺ ไปคำที่หมายถึงไวน์ประเภทหนึ่ง และได้ให้นิรุกติศาสตร์กับคำกริยา qahiya ในความหมายว่า "ไม่มีความอยากอาหาร"[10] เนื่องจากเครื่องดื่มดังกล่าวถูกใช้เพื่อดับความหิวของผู้ที่ดื่มเข้าไป นิรุกติศาสตร์ทางอื่นอีกเป็นจำนวนมากกล่าวว่า คำดังกล่าวในภาษาอาหรับอาจเป็นการบิดเบือนคำยืมมาจากหลักฐานเอธิโอเปียหรือแอฟริกัน โดยเสนอว่าคำดังกล่าวมาจาก คัฟฟา ที่ราบสูงทางตะวันออกเฉียงใต้ของเอธิโอเปีย เนื่องจากต้นกาแฟเป็นพืชท้องถิ่นในบริเวณดังกล่าว[10][11] อย่างไรก็ตาม คำว่า qahwah ไม่ได้ถูกใช้กับเบอร์รี่หรือพืชซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นในบริเวณดังกล่าว ซึ่งจะถูกเรียกว่า bunn หรือมีชื่อพื้นเมืองในชีวา ว่า būn[10]


วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประเภทกาแฟ

บทความนี้เกี่ยวกับประเภทของกาแฟที่มีชื่อเสียง

เนื้อหา

 [ซ่อน

         





กาแฟ

กาแฟ เป็นเครื่องดื่มที่ทำจากเมล็ดซึ่งได้จากต้นกาแฟ หรือมักเรียกว่า เมล็ดกาแฟ คั่ว มีการปลูกต้นกาแฟในมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก กาแฟเขียว (กาแฟซึ่งยังไม่ผ่านการคั่ว) เป็นหนึ่งในสินค้าทางการเกษตรซึ่งมีการซื้อขายกันมากที่สุดในโลก[1] กาแฟมีส่วนประกอบของคาเฟอีน ทำให้มันมีสรรพคุณชูกำลังในมนุษย์ ปัจจุบัน กาแฟเป็นเครื่องดื่มซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก[2]
เป็นที่เชื่อกันว่าสรรพคุณชูกำลังจากเมล็ดของต้นกาแฟนั้นถูกพบเป็นครั้งแรกในเยเมน แถบอาระเบีย และทางตะวันออกเฉียงเหนือของเอธิโอเปีย และการปลูกต้นกาแฟในสมัยแรกได้แพร่ขยายในโลกอาหรับ[3] หลักฐานบันทึกว่าการดื่มกาแฟได้ปรากฏขึ้นราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อันเป็นหลักฐานซึ่งเชื่อถือได้และเก่าแก่ที่สุด ถูกพบในวิหารซูฟี ในเยเมน แถบอาระเบีย[3] จากโลกมุสลิม กาแฟได้แพร่ขยายไปยังทวีปยุโรป อินโดนีเซีย และทวีปอเมริกา[4] ในระหว่างที่กาแฟเริ่มเดินทางจากทวีปอเมริกาเหนือและตะวันออกกลางสู่ทวีปยุโรป กาแฟได้ถูกส่งผ่านไปยังซิซิลีและอิตาลีในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 จากนั้นผ่านตุรกีไปยังกรีซ ฮังการี และออสเตรียในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 จากอิตาลีและออสเตรีย กาแฟได้แพร่ขยายไปยังส่วนที่เหลือของทวีปยุโรป กาแฟได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมหลายแห่งตลอดประวัติศาสตร์ ในแอฟริกาและเยเมน มันถูกใช้ร่วมกับพิธีกรรมทางศาสนา ผลที่ตามมาคือ ศาสนจักรเอธิโอเปีย ได้สั่งห้ามการบริโภคกาแฟตลอดกาล จนกระทั่งถึงรัชสมัยของจักรพรรดิเมเนลิกที่ 2[5] มันยังได้ถูกห้ามในจักรวรรดิออตโตมันระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 เนื่องจากสาเหตุทางการเมือง[6] และมีส่วนเกี่ยวพันกับกิจกรรมทางการเมืองหัวรุนแรงในทวีปยุโรป
ผลกาแฟ ซึ่งบรรจุเมล็ดกาแฟ เป็นผลผลิตจากไม้พุ่มไม่ผลัดใบขนาดเล็กในจีนัส Coffea หลายสปีชีส์ โดยสายพันธุ์ที่มีการปลูกโดยทั่วไปมากที่สุด ได้แก่ Coffea arabica และกาแฟ "โรบัสต้า" ที่ได้จากชนิด Coffea canephora ซึ่งมีรสเข้มกว่า สายพันธุ์ดังกล่าวมีความทนทานต่อราสนิมใบกาแฟ (Hemileia vastatrix) ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวง สายพันธุ์กาแฟทั้งคู่มีการปลูกในละตินอเมริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทวีปแอฟริกา เมื่อสุกแล้ว ผลดังกล่าวจะถูกเก็บรวบรวม นำไปผ่านกรรมวิธีและทำให้แห้ง หลังจากนั้น เมล็ดจะถูกคั่วในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรสชาติที่ต้องการ และจะถูกบดและบ่มเพื่อผลิตกาแฟ กาแฟสามารถตระเตรียมและนำเสนอได้ในหลายวิธี
กาแฟเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของโลก โดยในปี ค.ศ. 2004 กาแฟเป็นสินค้าการเกษตรส่งออกที่ทำรายได้เป็นอันดับหนึ่งในจำนวน 12 ประเทศ[7] และเป็นพืชที่มีการส่งออกอย่างถูกต้องตามกฎหมายซึ่งมีมูลค่าสูงที่สุดเป็นอันดับ 7 ของโลก ในปี ค.ศ. 2005[8] กาแฟได้รับการโต้เถียงบางส่วนในด้านการเพาะปลูกต้นกาแฟและผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม และมีการศึกษาจำนวนมากที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคกาแฟกับข้อจำกัดทางยาอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่ากาแฟให้คุณหรือให้โทษกันแน่[9]